การสืบสวน ของ ไชนาแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 140

อุบัติเหตุครั้งนี้มีสาเหตุจากความผิดพลาดของนักบิน พวกเขาไม่สามารถแก้ไขการควบคุมเครื่องและความเร็วพร้อมกันได้[6] เก้าเดือนก่อนเกิดเหตุ แอร์บัสได้แจ้งเตือนลูกค้าให้ปรับปรุงระบบควบคุมเพื่อให้ระบบออโตไพลอตหยุดทำงานเมื่อนักบินขยับคันบังคับไปในทางที่กำหนดระหว่างที่เครื่องอยู่ในโหมดโกอะราวด์[7] "ทางที่กำหนด" ดังกล่าวรวมไปถึงการดันคันบังคับไปข้างหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่นักบินเที่ยวบินที่ 140 ทำก่อนตก ไชนาแอร์ไลน์วางแผนว่าจะรอปรับปรุงเครื่องบินลำที่เกิดเหตุตอนที่เครื่องบินลำดังกล่าวจะเข้าตรวจซ่อมบำรุงครั้งสำคัญ เพราะมองว่าการปรับปรุงนั้นไม่เร่งด่วน[7] ซึ่งเป็นปัจจัยร่วมกับความผิดพลาดของนักบินที่นำไปสู่อุบัติเหตุในที่สุด[6] นอกจากนี้ยังพบว่านักบินฝึกอบรมการบินกับเครื่องบินแอร์บัส เอ300 ที่ศูนย์จำลองการบินในกรุงเทพมหานคร ซึ่งชุดฝึกอบรมดังกล่าวไม่ได้รวมปัญหาระหว่างโกอะราวด์เข้าไปด้วย ทำให้นักบินเข้าใจว่าถ้าดันคันบังคับไปข้างหน้าก็น่าจะเพียงพอที่จะทำให้ออโตไพลอตหยุดทำงาน เนื่องจากเครื่องบินโบอิง 747 ที่เขาคุ้นเคยก็ใช้วิธีการเดียวกัน[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไชนาแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 140 http://www.chron.com/CDA/archives/archive.mpl?id=1... http://www.chron.com/CDA/archives/archive.mpl?id=1... http://www.chron.com/CDA/archives/archive.mpl?id=1... http://www.sozogaku.com/fkd/en/cfen/CA1000621.html http://www.sozogaku.com/fkd/en/mfen/MA1000621_01.j... http://www.sozogaku.com/fkd/en/sfen/SA1000621.html http://sunnyday.mit.edu/accidents/nag-4-7.html http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/nn20070420a... http://www.japantimes.co.jp/news/2014/04/27/nation... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...